ถึงแม้แสงแดดจะมีคุณประโยชน์ที่หลากหลายต่อมนุษย์ แต่การได้รับ แสงแดด ในปริมาณที่มากเกินไปก็อาจทำให้ผิวไหม้แดงได้
ครีมกันแดด โดยทั่วไปมักจะบ่งบอกถึง SPF หรือ ประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดชนิด UVB แต่ที่ควรใส่ใจไม่แพ้กันก็คือค่าการปกป้องรังสี UVA ซึ่งมักจะบ่งบอกไว้ด้วยคำว่า PA หรือ PPD นอกจากนี้ ครีมกันแดดที่ดีควรมี Photos ility หรือความคงทนต่อแสงของครีมกันแดด ซึ่งครีมกันแดดที่ไม่คงทนต่อแสงหรือสลายไปมากกว่า 25% หลังถูกแสงยูวี จะทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดลดน้อยลง
การป้องกันอันตรายจากแสงแดดที่ดีที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงแสงแดดจัด ในช่วงเวลา 9.00-15.00 น. ก่อนอื่น เรามารู้จักประเภทของครีมกันแดด กันเลยนะค่ะ
ครีมกันแดด มีทั้งหมด 3 ประเภทดังนี้
1. Chemical Sunscreen
เป็น ครีมกันแดด ที่มีส่วนผสมของสารเคมี ทำหน้าที่ปกป้องแสงแดด โดยการดูดซับรังสีแสงแดดเข้าไว้ในผิว ซึ่งหลังจากโดนแดดสักพัก สารเคมีเหล่านี้ก็เสื่อมสภาพ นั่นคือสาเหตุที่เราจึงต้องทา ครีมกันแดด ทุกๆ 2-3 ชั่วโมง การเลือกใช้ ครีมกันแดด ที่มีค่า SPF สูงๆ ซึ่งมีส่วนผสมของสารเคมีปริมาณมาก อาจเกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังโดยเฉพาะคนที่มีผิวแพ้ง่าย
2. Physical Sunscreen
เป็น ครีมกันแดด ที่มีส่วนผสมของสาร ที่สามารถสะท้อนรังสี UVA และ UVB ออกไปจากผิวหนัง ซึ่งสารในกลุ่มนี้จะมีผลระคายเคืองต่อผิวหนัง น้อยกว่าสารในกลุ่มแรก แต่มีข้อด้อยคือ ครีมกันแดด ประเภทนี้ไม่สามารถให้ SPF ที่สูงๆ ได้ และเมื่อทาบนผิวหนังแล้ว หน้าจะดูขาวมาก เนื่องจากสารจะเคลือบบนผิวหนังชั้นบน เพื่อรอแสงกระทบ จึงมีการดูดซึมสู่ผิวน้อย
3. แบบผสม Chemical-Physical Sunscreen
เป็นการเสริมข้อดี ลดข้อด้อยในแต่ละส่วน นั่นคือ ลดการระคายเคืองต่อผิวหนัง จากสารประเภทสารเคมี และ ลดความขาวเมื่อทาครีม และ เสริมประสิทธิภาพ ในการป้องกันแสงแดดร่วมกัน
วิธีเลือกซื้อครีมกันแดด
1. มีคุณสมบัติครบในการป้องกันทั้งรังสี UVB และ UVA ไม่มีปฏิกิริยาต่อผิวหนัง เช่น คัน ผื่น
2. ดูที่ค่า SPF (Sun Protective Factor) ซึ่งเป็นตัวบอกว่า ป้องกัน UVB ได้กี่เท่าส่วน UVA ยังไม่มีค่ามาตรฐาน ปัจจุบันนิยมใช้ PA และเครื่องหมาย + ปกติคนไทยมีผิวคล้ำซึ่งเม็ดสีสามารถป้องกัน UVB ได้บ้างแล้ว ดังนั้น SPF มากกว่า 15 และ PA++ ขึ้นไป ก็เพียงพอ
3. เลือก ครีมกันแดด ที่มีสารเคมีที่กัน UVA ได้ดีอย่างน้อย 2 ชนิด เช่น Oxybenzone + TiO2 หรือ Parsol 1789 + ZnO เป็นต้น
4. ดูที่กิจกรรม ถ้าออกกำลังกลางแจ้ง มีเหงื่อ ว่ายน้ำ ทำงานกลางแดด ต้องใช้ SPF ที่สูงขึ้นและเลือกประเภทที่กันน้ำได้ (Water Proof หรือ Water Resistance)
การทาครีมกันแดด
ควรทา ครีมกันแดด ให้หนาเพียงพอ ก่อนอยู่กลางแดด อย่างน้อย 15 นาที และ จำนวนครั้งที่ทาต่อวัน ก็สำคัญนะคะ ถ้าอยู่ในออฟฟิศ ห้องแอร์ วันละครั้งก็เพียงพอค่ะ แต่ถ้าต้องทำงานกลางแดด โดนลม อาจจะทาเติม ถ้าว่ายน้ำต้องทาทุก 2-3 ชั่วโมง เนื่องจากการทา ยากันแดด2-3 เท่าเลยค่ะ ซ้ำ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการกันแดด ได้อีก อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะมีค่า SPF สูงเพียงใด ก็ไม่ได้กันแดดได้ 100 % ค่ะ
วิธีทดสอบการแพ้ครีมกันแดด
ให้ทา ครีมกันแดด บริเวณใต้ท้องแขนทิ้งไว้ 15 นาที แล้วสังเกตว่ามีอาการบวม แดงหรือไม่ ถ้าปรากฏอาการ ดังกล่าวแสดงว่าแพ้สารเคมีชนิดหนึ่ง อย่างไรก็ตามบางคน อาจจะใช้เวลานานกว่าจะปรากฏอาการแพ้ (delay sensitivity) ดังนั้นจึงควรรอดูอาการถึง 24 ชั่วโมง หรือ 72 ชั่วโมง จึงจะสรุปได้ว่าไม่มีอาการแพ้จริงๆ ค่ะ
ควรทา ครีมกันแดด ให้หนาเพียงพอ ก่อนอยู่กลางแดด อย่างน้อย 15 นาที และ จำนวนครั้งที่ทาต่อวัน ก็สำคัญนะคะ ถ้าอยู่ในออฟฟิศ ห้องแอร์ วันละครั้งก็เพียงพอค่ะ แต่ถ้าต้องทำงานกลางแดด โดนลม อาจจะทาเติม ถ้าว่ายน้ำต้องทาทุก 2-3 ชั่วโมง เนื่องจากการทา ยากันแดด2-3 เท่าเลยค่ะ ซ้ำ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการกันแดด ได้อีก อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะมีค่า SPF สูงเพียงใด ก็ไม่ได้กันแดดได้ 100 % ค่ะ
วิธีทดสอบการแพ้ครีมกันแดด
ให้ทา ครีมกันแดด บริเวณใต้ท้องแขนทิ้งไว้ 15 นาที แล้วสังเกตว่ามีอาการบวม แดงหรือไม่ ถ้าปรากฏอาการ ดังกล่าวแสดงว่าแพ้สารเคมีชนิดหนึ่ง อย่างไรก็ตามบางคน อาจจะใช้เวลานานกว่าจะปรากฏอาการแพ้ (delay sensitivity) ดังนั้นจึงควรรอดูอาการถึง 24 ชั่วโมง หรือ 72 ชั่วโมง จึงจะสรุปได้ว่าไม่มีอาการแพ้จริงๆ ค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น